วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

38.แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย

38.แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย

แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย1x42.gif
1. แนวคิดเรื่องถิ่นเดิมชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน
1.1ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
ผู้เริ่มแนวคิดนี้ คือศาสตราจารย์  แตเรียง เดอ ลาคูเปอรี แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาศาสตร์ของอินโดจีน สรุปว่า ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดบริเวณภาคเหนือของมณฑลเสฉวน ในประเทศจีนมาตั้งแต่ 2,750 ปีก่อนพุทธศักราช และอ้างว่าในจดหมายเหตุจีน เรียกชนชาติไทยว่า ต้ามุง ซึ่งแปลว่ามุงใหญ่
แนวคิดที่ว่า ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของจีนนี้ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการตีความจากคำในภาษาไทยจึงมีเหตุผลน้อยไป

2. แนวคิดของชนชาติไทยเป็นเชื้อสายมองโกลมีถิ่นเดิมอยู่แถบเทือกเขาอัลไต
2.1ผู้กำหนดทฤษฎีและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
แนวคิดที่ว่าไทยเป็นชาติมองโกลมาจากแนวคิดของ ดร.วิลเลียม คริฟตัน ดอดด์ มิชชั่นนารีชาวอเมริกันเข้ามาสอนศาสนาคริสต์ที่เชียงราย โดยเชื่อว่าชนชาติไทยมีเชื้อสายมองโกล ถิ่นเดิมน่าจะอยู่ในบริเวณเขตอบอุ่นเหนือเลยประเทศจีนขึ้นไป และได้เคลื่อนย้ายมาสู่ประเทศจีนตั้งอาณาจักรของตนขึ้น เรียกว่า อาณาจักรอ้ายลาว จีน เรียกว่า ต้ามุง ต่อมาเมื่อชาวจีนมีความเข้มแข็งได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในถิ่น ทำให้ชาวไทยอพยพไปหาที่ทำกินแหล่งใหม่
   ปัจจุบันแนวคิดนี้ไม่ค่อยได้รับความน่าเชื่อถือมากนัก เนื่องจาก
          1. สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของเทือกเขาอัลไตเป็นทุ่งหญ้า เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ ไม่เหมาะแก่การดำรงชีพของชนชาติไทย ซึ่งถนัดการเพาะปลูก
          2. การอพยพจากเทือกเขาอัลไตลงมา ต้องเดินทางเป็นระยะเวลาทางไกลมาก และต้องผ่านทะเลทรายกว้างสูงใหญ่ทุรกันดาร
          3. บริเวณเทือกเขาอัลไตเป็นเขตที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นไม่เหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์




3. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีน
3.1ผู้กำหนดทฤษฎีและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
ผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ ได้แก่ อาร์ชิบัลด์ รอสส์ คอลูน นักสำรวจชาวอังกฤษ ได้เดินทางสำรวจดินแดนตามแนวชายแดนทางใต้ของจีนจากกวางตุ้งมาถึงมัณฑะเลย์ของพม่า แล้วเขียนรายงานเป็นหนังสือ ชื่อ Across Chryse  พบว่าตามเส้นทางที่สำรวจประชาชนมีวีชีวิตและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันทั้งด้านภาษาพูด การแต่งกาย เป็นต้น
       ปัจจุบันแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุด เพราะมีหลักฐานประกอบที่น่าเชื่อถือกับธรรมชาติของการอพยพของมนุษย์ที่จะมักอพยพจากที่สูงลงมาที่ต่ำ มีสถานที่ไม่ไกลจากที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันมากนักประกอบกับมีความคล้ายคลึงกันในวัฒนธรรมของประชาชน

4. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย
    4.1 ผู้กำหนดทฤษฎีและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
    รูธ เบเนดิกต์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันได้เสนอแนวคิดว่า ชนชาติไทยเป็นเชื้อชาติมลายูได้อพยพจากทางใต้ของแหลมมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียขึ้นไปทางเหนือจนถึงตอนใต้ของจีนแล้วจึงอพยพกลับลงมาอีกครั้งหนึ่งใน นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เสนอการวิจัยเรื่องหมู่เลือดในคนไทยลงในวารสารวิจัยแห่งชาติ หมู่เลือดของไทยคล้ายคลึงกับคนอินโดนีเซียมากกว่าจีน
    นอกจากนี้ได้ศึกษาความถี่ของยีน พบว่าคนไทยไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากคนจีน จึงเชื่อว่าชนชาติไทยน่าจะมีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ต่อมาจึงค่อยๆอพยพมายังกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และขึ้นเหนือไปถึงมณฑลยูนนานของประเทศจีน
ความน่าเชื่อถือของแนวคิดเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายู
แนวคิดที่ว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซียนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ โดยมีเหตุผลและหลักฐานโต้แย้ง คือ ลักษณะการเคลื่อนย้ายของวัฒนธรรมจะมีการเคลื่อนย้ายจากเหนือลงใต้ รวมทั้งหลักฐานที่ใช้ในการสนับสนุนแนวคิดเป็นหลักเฉพาะทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ไม่มีความหลากหลายของหลักฐานจึงไม่ค่อยได้รับความเชื่อมากนักในปัจจุบัน

5. แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
5.1. ผู้กำหนดแนวคิดและหลักฐานที่ใช้ศึกษา
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญทางกายภาคศาสตร์ ซึ่งมีความสนใจงานทางด้านโบราณคดีเป็นพิเศษ เคยร่วมสำรวจโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินในเขตอำเภอบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีอายุ 4,000 ปีมาแล้ว โครงกระดูกมีความคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของคนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทำให้นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เชื่อว่าถิ่นเดิมของคนไทยไม่ได้อพยพมาจากที่ใด แต่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยในปัจจุบันนั่นเอง
5.2 ความน่าเชื่อถือของแนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
   แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้เพราะอาศัยเฉพาะหลักฐานทางโบราณคดีเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้นำหลักฐานด้านอื่นมาใช้ประกอบ ทำให้มีความน่าเชื่อถือลดลง

1x42.gif

39.อาณาจักรโบราณในประเทศไทย

39.อาณาจักรโบราณในประเทศไทย

อาณาจักรโบราณในประเทศไทย1x42.gif
อาณาจักรโบราณในประเทศไทยที่จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษณ์มีดังนี้
1. อาณาจักรทวารวดี เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญในภาคกลาง มีความเจริญด้านพระพุทธศาสนา รวมถึงความเจริญทางด้านศิลปกรรม มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นอกจากนั้นยังมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ โดยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญ
2. อาณาจักรละโว้ เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจเป็นแหล่งน้ำ มีการติดต่อค้าขายทางทะเลสะดวก ละโว้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม เรียกว่า คิลปะลพบุรี เช่น พระปรางค์สามยอด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างความเชื่อของศาสนาพุทธและฮินดู จนมีการล่มสลายเมื่อถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา
3 .อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิ มีการนำความเชื่อทางศาสนา พราหมณ์-ฮินดูมาใช้ มีจุดศูนย์กลางอยู่แถบลุ่มน้ำโขงในประเทศเขมรปัจจุบัน มีการปกครองแบบเทวราชา ยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้า รวมถึงความเจริญทางด้านการค้า ความเสื่อมของอาณาจักรฟูนันเกิดจากการุกรานของอาณาจักรเจนละ
4. อาณาจักรตามพรลิงค์ ตั้งบนคาบสมุทรในภาคใต้ฝั่งตะวันออกของไทย มีนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในช่วงศตวรรษ 18 มีศาสนาพุทธ ลัทธิลังกาวงศ์เจริญและรุ่งเรืองมาก อยู่ในฐานะเมืองขึ้นของสุโขทัยนานถึง 56 ปี
5. อาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา คาบสมุทรมลายู และบางส่วนของภาคใต้ในประเทศไทย กลางพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธศาสนานิกายมหายาน และศิลปะศรีวิชัยได้แผ่ขยายเข้ามา
6. อาณาจักรโคตรบูร ตั้งขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเชื่อดั้งเดิม คือ นับถือผี บูชาพญานาค นับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาท
7. อาณาจักรหริภุญชัย เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา เมื่อก่อตั้งมาได้ประมาณ 632 ปี ได้ตกอยู่ในอำนาจของพ่อขุนมังรายจากเชียงราย
8. อาณาจักรโยนกเชียงแสน ตั้งอยู่บนบริเวณเหนือสุดของประเทศไทย พระเจ้าสิงหนวัติเป็นผู้สร้างเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองด้านประติมากรรม เอกลักษณ์คือ ประติมากรรมศิลปะเชียงแสน
9. อาณาจักรล้านนา ผู้ก่อตั้งคือ พระยาเม็งราย ได้สร้างเมืองหลวงที่เมืองนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในเขตภาคเหนือในทุกด้าน

10. อาณาจักรขอม ก่อตั้งโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 โดยศูนย์กลางอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในเขตประเทศเขมร เป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก รวมทั้งความเจริญด้านศาสนาผสมผสานระหว่าง ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูกับพระพุทธศาสนา

40.ปัจจัยในการตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทยในสมัยสุโขทัย

40.ปัจจัยในการตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทยในสมัยสุโขทัย

ปัจจัยในการตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย
ในสมัยสุโขทัย
1x42.gif
ปัจจัยที่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐานในสมัยสุโขทัยมีดังนี้
1. กรุงสุโขทัยตั้งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินและห่างทะเล มีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำปิง ยม น่าน
2. ลักษณะภูมิประเทศ เป็นบริเวณที่เป็นภูเขา และที่ราบที่ลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์
3. ลักษณะภูมิอากาศ มีความชุ่มชื้น ฝนตกสม่ำเสมอ เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน
4. ทรัพยากรธรรมชาติ
5. ประชากร มีผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าหาญ
6. การเสื่อมอำนาจของขอม ทำให้ชาวไทยได้รวมกันกำจัดขอมและสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยได้สำเร็จ

การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
เดิมเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ต่อมาพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยางกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดได้ช่วยกอบกู้เอกราชคืนมา และสถาปนากรุงสุโขทัย พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย มีทั้งหมด 9 พระองค์
รัชกาลที่ 1 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ทรงสถาปนาสุโขทัยโดยขับไล่ขอมออกไป
รัชกาลที่ 2 พ่อขุนบานเมือง
รัชกาลที่ 3 พ่อขุนรามคำแหง ทรงปกครองบ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ดังนี้
  1. ทรงเป็นนักรบที่เชี่ยวชาญในการทำศึกสงคราม
  2. ทรงอุปการะเกื้อกูลเมืองที่ขอพึ่งบารมี ทรงใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศราช ไม่ได้ใช้กำลังบังคับอย่างเดียว
  3. ทรงประดิษฐ์อักษรไทย โยนำเอาภาษาขอม มอญ บาลีสันสกฤต มาประยุกต์เป็นภาษาไทย เรียกว่า ลายสือไท
  4. ทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภก คือ ทรงอุปถัมภ์และทะนุบำรุงพุทธศาสนา
  5. ทรงเป็นนักปกครองที่เข้าถึงประชาชน คือ ราษฎรเดือดร้อนให้ไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวัง แล้วพระองค์จะเสด็จออกมาช่วยเหลือ
รัชกาลที่ 4 พญาเลอไท ครองราชย์ยาวนานที่สุด ประมาณ 40 ปี ทรงฝักใฝ่ในทางธรรม ไม่ใส่พระทัยในด้านการปกครองเท่าไหร่นัก นำมาซึ่งความอ่อนแอของอาณาจักร เมืองขึ้นต่างๆแยกตัวออกเป็นอิสระ
รัชกาลที่ 5 พญางั่วนำถม ปกครองในช่วงเวลาประสบกับสงครามควมแตกแยกวุ่นวายภายในอย่างหนัก
รัชกาลที่ 6 พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงปราบจลาจลได้สำเร็จ ทรงปกครองด้วยรูปแบบธรรมราชา ซึ่งนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการปกครอง ซึ่งแตกต่างกับการปกครองในแบบพ่อปกครองลูก ในสุโขทัยตอนต้น
รัชกาลที่ 7 พระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นช่วงสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา
รัชกาลที่ 8 พระมหาธรรมราชาที่ 3 เกิดการช่วงชิงอำนาจ สมเด็จพระนครอินทราธิราชแห่งอยุธยาเสด็จมาช่วยระงับจลาจลแล้วทรงแต่งตั้งพญาบาลเมืองขึ้นเป็นกษัตริย์
รัชกาลที่ 9 พระมหาธรรมราชาที่ 4 เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 เสด็จสวรรคต กรุงสุโขทัยรวมกับอาณาจักรอยุธยา
1x42.gif

41.พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองของสุโขทัย

41.พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองของสุโขทัย

พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองของสุโขทัย
1x42.gif
1. ความเจริญด้านการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งเป็น 2 ระยะ
    การปกครองสุโขทัยตอนต้น พ.ศ. 1792-1841  อยู่ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1-3 มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
  1. พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด
  2. พระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์กับราษฎรเสมือนบิดากับบุตร
  3. ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ มีการจัดการระบบการปกครองให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้าน
  4. พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง ชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย พ.ศ. 1841-1981
   หลังจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จสวรรคต อาณาจักรก็เริ่มระส่ำระส่าย พญาเลอไท ไม่อาจรักษาความมั่นคงไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวเป็นอิสระ
กฎหมายของสุโขทัย คือ กฎหมายสี่บท และลักษณะความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นแบบสัมพันธไมตรี การจัดหัวเมืองแบบกำแพงสามชั้น คือ เมืองหลวงอยู่ตรงกลางแล้วล้อมรอบด้วยกำแพงสามชั้น ชั้นที่ 1 เมืองลูกหลวง มี 4 เมือง คือ ศรีสัชนาลัย (เป็นเมืองลูกหลวงที่สำคัญที่สุด) เมืองสระหลวง เมืองนครชุม เมืองสองแคว ชั้นที่ 2 เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอกที่ทั้งกษัตริย์และประชาชนเป็นคนไทยที่ยอมสวามิภักดิ์กับสุโขทัย ชั้นที่ 3 เมืองประเทศราชที่ทั้งเจ้าเมือง และประชาชนเป็นชาวต่างชาติที่ยอมสวามิภักดิ์กับสุโขทัย
การเสื่อมอำนาจของสุโขทัย
การเสื่อมอำนาจของสุโขทัย มีสาเหตุหลัก 4 ประการ คือ
1. ความเหินห่างระหว่างพระมหากษัตริย์และราษฎร เนื่องจากประชาชนในอาณาจักรมีมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ฐานะกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยเป็นบิดามาเป็นพะมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม ทำให้เกิดความห่างเหินในความสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น
2. ความย่อหย่อนทางด้านทหาร เนื่องจากบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ประชาชนจึงอยู่อย่างร่มเย็น จึงละเลยด้านการทหารกองทัพเกิดความย่อหย่อนเป็นโอกาสให้บรรดาเมืองน้อยใหญ่แข็งข้อไม่ขึ้นกับสุโขทัย
3. การถูกตัดเส้นทางเศรษฐกิจ เมืองเมาะตะมะ เป็นเมืองท่าในการขนส่งสินค้า ต่อมาได้ตั้งตัวและแยกตัวอิสระไม่ขึ้นกับสุโขทัย ทำให้เส้นทางสุโขทัยถูกตัดขาด
4. การแตกแยกภายในเนื่องจากการแก่งแย่งชิงอำนาจกัน ก่อให้เกิดจลาจลถึงขึ้นต้องยกกำลังทหารเข้าปราบปรามในตอนปลายรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 ต่อมาเกิดการแตกแยกอย่างรุนแรงในพระราชวงศ์ จนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 4 สุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาอย่างถาวร

1x42.gif

42.การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

42.การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา
1x42.gif
การที่พระเจ้าอู่ทองได้ทรงย้ายเมืองจากลพบุรีมาสร้างเมืองใหม่ที่อยุธยา เพราะมีทำเลที่เหมาะสมกว่า ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงมีแม่น้ำลำคลองไหลผ่ายหลายสาย พื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีผลผลิตเพียงพอเลี้ยงประชาชนทั่วทั้งอาณาจักร
2. ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิอากาศร้อน มีฝนตกสม่ำเสมอ
3. ทรัพยากรธรรมชาติ มีทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิดและมีจำนวนมาก
4. ประชาชนมีผู้นำที่เข้มแข็ง เป็นแหล่งเจริญรุ่งเรืองด้วยอารยธรรมมาก่อน ผู้คนหนาแน่น
5. ด้านการค้า สามารถติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างประเทศได้สะดวก
6. ด้านยุทธศาสตร์ อยุธยามีลักษณะเป็นเกาะ แม่แม่น้ำล้อมเป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติ
7. ปัจจัยด้านช่องว่างอำนาจการเมือง สุโขทัยและขอมกำลังเสื่อมอำนาจ เปิดโอกาสให้อยุธยาก่อตัวขึ้น
ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา
  การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้วในขณะนั้นแคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ โดยในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองค์ การก่อตั้งอาณาจักรอยุธยามีใจความสำคัญดังนี้
1. แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง(อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
2. ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม
3. การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่
4. แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรี
5. แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19  สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

43.การพัฒนาและเสื่อมอำนาจของอยุธยา

43.การพัฒนาและเสื่อมอำนาจของอยุธยา

การพัฒนาและเสื่อมอำนาจของอยุธยา
1x42.gif
ความเจริญทางด้านการเมืองการปกครอง/การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  พ.ศ. 1893 – 1991
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  
ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) การปกครองที่ได้รับอิทธิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้
  1. การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์ หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบเป็นกรมสำคัญ 4 กรม ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
    1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร
    2. กรมวัง มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี
    3. กรมคลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร  ด้านการเงินทำหน้าที่เก็บภาษีอากร
    4. กรมนา มีขุนนาเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่วราชอาณาจักร และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม
  2. การปกครองส่วนภูมิภาค การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค จัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัย การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  พ.ศ. 1991 – 2072 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1991 – 2031) พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ เพราะเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังหละหลวม  กรุงศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึง มีลักษณะสำคัญสองประการ
    1. การปกครองส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีตำแหน่ง สมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร สมุหนายกทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักรและดูแลจดุสดมภ์  พระองค์ได้ทรงกำหนดหน่วยงานระดับกรม
      1. กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก   มีฐานะเป็นอัตรมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
      2. กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม  มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงกรมจตุสดมภ์เสียใหม่ ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละกรม คือ
      3. กรมเมือง  มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
      4. กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
      5. กรมคลัง  มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
      6. กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
    2. การปกครองส่วนภูมิภาค สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้จัดการปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ดังนี้
      1. หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า “ผู้รั้ง”
      2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่  เมืองที่อยู่ถัดจากหัวเมืองชั้นในออกไป  (ซึ่งเป็นเมืองพระยามหานครในสมัยก่อน)จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท  เอก  ตามขนาดและความสำคัญของเมืองนั้นๆ
      3. เมืองประเทศราช มีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย  พ.ศ. 2072 – 2310
การจัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางรากฐานไว้คงใช้มาตลอด แต่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพบ้านเมืองยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  (พ.ศ. 2199 – 2231) กฎหมายใช้ปกครองเรียกว่า กฎหมายราชศาสตร์ มีกษัตริย์ปกครอง 34-35 พระองค์ และมี 5 ราชวงศ์

การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรอยุธยา
เกิดจากปัจจัยดังนี้
  1. การขาดความสามัคคีของคนไทย
  2. การว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาท
  3. ผู้นำไม่มีความเข้มแข็ง พระมหากษัตริย์ไม่มีความสามารถในการรบ
  4. ศัตรูมีกำลังที่เข้มแข็ง ในขณะที่กำลังรบของอยุธยาอ่อนแอ
  5. การแข็งเมืองของเมืองขึ้นต่างๆ ที่ประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่ออยุธยาทำให้อยุธยาอ่อนแอ

44.การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย

44.การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย

การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย
สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
1x42.gif
รัชกาลที่ 1 ทรงฟื้นฟูระบบสังคมและการเมืองของราชอาณาจักรอยุธยา ทรงออกประมวลกฎหมายใหม่ ทรงฟื้นฟูพิธีในราชสำนัก และทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ การปกครองแบ่งเป็นหกกรม โดยในจำนวนนี้ สี่กรมมีหน้าทีปกครองดินแดนโดยเฉพาะ
กรมกลาโหมปกครองทางใต้
กรมมหาดไทยปกครองทางเหนือและตะวันออก
กรมพระคลังปกครองดินแดนที่อยู่ทางใต้ของพระนคร
และกรมเมืองปกครองพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร
ส่วนอีกสองกรมนั้นคือ กรมนาและกรมวัง
กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปราช ซึ่งเป็นพระอนุชาในพระมหากษัตริย์พม่า ซึ่งเห็นความวุ่นวาย ประกอบกับการโค่นล้มสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รุกรานสยามอีกใน พ.ศ. 2328
ฝ่ายสยามแบ่งกำลังออกเป็นหลายเส้นทาง ซึ่งกองทัพทางตะวันตกได้บดขยี้ทัพพม่าใกล้จังหวัดกาญจนบุรี
นี่เป็นการรุกรานสยามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพม่า พ.ศ. 2345 พม่าถูกขับออกจากล้านนา พ.ศ. 2335 สยามยึดครองหลวงพระบาง และนำดินแดนลาวส่วนใหญ่มาอยู่ใต้การปกครองโดยอ้อมของสยาม
กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างเต็มที่ และกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงสถาปนาความเป็นเจ้าของสยามเหนือดินแดนที่ใหญ่กว่าประเทศไทยปัจจุบันอยู่มาก
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้
การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่
สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน
สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน
เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
-กรมเวียง ดูและความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วไป  
-กรมวัง ดูแลงานพระราชพิธีต่างๆ และการพิจารณาคดี
-กรมคลังหรือกรมท่า ดูแลด้านการเงินและการต่างประเทศ
-กรมนา ดูแลไร่นาทั่วราชอาณาจักร
การปรับปรุงกฏหมายและการศาล
กฎหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง
ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงการปกครอง ได้ทรงประกาศยกเลิกระบบจตุสดมภ์แล้วตั้งกระทรวงสมัยใหม่ขึ้นมา